หลักการ (Principle) ตามความหมายในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ
2542 หมายถึง
สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ
แนวคิด (Concept) ตามความหมายในพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ 2542 หมายถึง ความคิดที่มีแนวทางปฏิบัติ
ทฤษฎี (Theory) หมายถึง
สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริง
สามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆ ไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง
และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี
ประโยชน์
มนุษย์ ทำให้ต้องสื่อสารถึงกัน
ต้องติดต่อและทำงานหลายสิ่งหลายอย่างรวมกัน สมองของ
เราต้องจดจำข้อมูลต่าง
ๆ
ไว้มากมายเพื่อใช้ประโยชน์ภายหลัง สังคมจึงต้องการความเป็นระบบที่มีรูปแบบชัดเจน เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นเรื่องที่รวมไปถึงการรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่เก็บต้องมีการตรวจสอบ เพื่อความถูกต้องจัดรูปแบบที่ประมวลผล การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์
ด้านข้อมูลและการติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยให้ง่ายสะดวกรวดเร็ว และที่สำคัญช่วยให้สามารถตัดสินใจดำเนินงานได้เร็วและถูกต้องดีขึ้น ดังนั้น
การที่หน่วยงานต้นสังกัดได้เพิ่มเติมหลักสูตรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เข้าไปในหลักสูตร โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนของชาติได้มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ หากไม่หาทางปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและเรียนรู้ให้เข้าใจ เพื่อให้มีการพัฒนาสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม เราจะตกเป็นทาสเทคโนโลยี เราจะเป็นเพียงผู้ใช้ที่ต้องเสียเงินตราให้ต่างประเทศอีกมากมาย
ขั้นตอนการเกิด
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4.
ทฤษฎีการเผยแพร่
ตัวอย่าง
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต
ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า
และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ
เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา
ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ
ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด
จองตั๋วเครื่องบิน การจองตั๋วภาพยนตร์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ
จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน
สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาในหลาย ๆ
มหาวิทยาลัยปัจจุบันสามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบ ตรวจดูและใช้บริการหนังสือในห้องสมุดจากที่บ้านของตนได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น
สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร
ประเทศไทยเริ่มมีการจัดทำระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบสารสนเทศ
ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ฯลฯ
ที่กำลังขยายตัวสู่องค์กรทุกระดับ เพราะต่างเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการเท่าทันมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น